เมนู

อนาปัตติวาร


[750] เข้าไปสู่บ้านเพราะมีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น 1 อำลาภิกษุที่
มีอยู่แล้วเข้าไป 1 ภิกษุไม่มี ไม่อำลา เข้าไป 1 ไปสู่อารามอื่น 1 ภิกษุไป
สู่สำนักภิกษุณี 1 ภิกษุณีไปสู่สำนักเดียรถีย์ 1 ไปสู่โรงฉัน 1 เดินไปตามทาง
อันผ่านบ้าน 1 มีอันตราย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้:-

[ว่าด้วยการบอกลาก่อนเข้าบ้านในเวลาวิกาล]


บทว่า ติรจฺฉานกถํ ได้แก่ ถ้อยคำเป็นเหตุขัดขวางต่ออริยมรรค.
บทว่า ราชกถํ ได้แก่ ถ้อยคำอันเกี่ยวด้วยพระราชา. แม้ในโจร-
กถาเป็น ต้นก็นัยนี้เหมือนกัน . คำที่ควรกล่าวในคำว่า สนฺตํ ภิกขุ นี้ มี
นัยดังกล่าวแล้วในจาริตตสิกขาบทนั่นแล.
ถ้าว่า ภิกษุมากรูปด้วยกัน จะเข้าไปยังบ้านด้วยการงานบางอย่าง, เธอ
ทุกรูปพึงบอกลากันและกันว่า วิกาเล คามปฺปเวสนํ อาปุจฺฉาม แปลว่า
พวกเราบอกลาการเข้าบ้านในเวลาวิกาล. การงานนั้นในบ้านนั้นยังไม่สำเร็จ
เหตุนั้น ภิกษุจะไปสู่บ้านอื่น แม้ตั้งร้อยบ้านก็ตามที, ไม่มีกิจที่จะต้องบอกลา
อีก. ก็ถ้าว่า ภิกษุระงับความตั้งใจแล้ว กำลังกลับไปยังวิหาร ใคร่จะไปสู่
บ้านอื่นในระหว่างทางต้องบอกลาเหมือนกัน. ทำภัตกิจในเรือนแห่งสกุลก็ดี ที่

โรงฉันก็ดี แล้วใคร่จะเที่ยวภิกษาน้ำมัน หรือภิกษาเนยใส. ก็ถ้ามีภิกษุอยู่
ใกล้ ๆ พึงบอกลาก่อนแล้วจึงไป. เมื่อไม่มี พึงไปด้วยใส่ใจว่า ภิกษุไม่มี
ย่างลงสู่ทางแล้วจึงเห็นภิกษุ ไม่มีกิจที่จะต้องบอกลา แม้ไม่บอกลาก็ควรเที่ยว
ไปได้เหมือนกัน. มีทางผ่านไปท่ามกลางบ้าน เมื่อภิกษุเดินไปตามทางนั้น
เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักเที่ยวภิกษาน้ำมันเป็นต้น ถ้ามีภิกษุอยู่ใกล้ ๆ พึง
บอกลาก่อนจึงไป. แต่เมื่อใม่แวะออกกจากทางเดินไปไม่มีกิจจำเป็นต้องบอก
ลา. บัณฑิตพึงทราบอุปจารแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม โดยนัยดังกล่าวแล้วใน
อทินนาทานสิกขาบทนั่นแล.
ในคำว่า อนฺตรารามํ เป็นต้น ไม่ใช่แต่ไม่บอกลาอย่างเดียว, แม้
ภิกษุไม่คาดประคดเอว ไม่ห่มสังฆาฏิไป ก็ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า สีหะก็ดี เสือก็ดี กำลังมา, เมฆตั้ง
เค้าขึ้นก็ดี อุปัทวะไร ๆ อย่างอื่นเกิดขึ้นก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ในอันตรายเห็น
ปานนี้ จะไปยังภายในบ้านจากภายนอกบ้าน ควรอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบท
นี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม จีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ 3 จบ

รตนวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องภิกษุหลายรูป


[751] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-
ธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น ช่างงาคนหนึ่งปวารณา
ต่อภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าใดต้องการกล่องเข็ม กระผมจะจัดกล่อง
เข็มมาถวาย จึงภิกษุทั้งหลายขอกล่องเข็มเขาเป็นจำนวนมาก ภิกษุมีกล่องเข็ม
ขนาดย่อม ก็ยังขอกล่องเข็มชนิดเขื่อง ภิกษุมีกล่องเข็มขนาดเขื่อง ก็ยังขอ
กล่องเข็มขนาดย่อม ช่างงามัวทำกล่องเข็มเป็นจำนวนมากมาถวายภิกษุทั้งหลาย
อยู่ ไม่สามารถทำของอย่างอื่นไว้สำหรับขายได้ แม้ตนเองจะประกอบอาชีพก็
ไม่สะดวก แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.
ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเธอ
สายพระศากยบุตรทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มมาเป็น
จำนวนมาก ช่างงานี้มัวทำกล่องเข็มเป็นจำนวนมากมาถวายพระเหล่านี้อยู่. จึง
ไม่เป็นอันทำของอย่างอื่นขายได้ แม้ตนเองจะประกอบอาชีพก็ไม่สะดวก แม้
บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขา
มาเป็นจำนวนมากเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย ข่าวว่า พวกเธอไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขามากมาย จริงหรือ.